วิชาประวัติศาสตร์ รหัส ส .22102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนาโรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม
http://www.posttoday.com/social/edu

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอุธยา

5.1 ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหา
ของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  
คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง    ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 
 ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสม
องค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิต
ของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ
พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้
ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน


            เกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูก 
โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคนอยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
ที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์พิเศษนอกจากนี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็นคันดินธรรมชาติ (Natural Levee) 
ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลอง ผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติอร่อย พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา
 ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย 
ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญา
จากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทน นอกจากนี้การที่สังคมอยุธยา
เป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนา
ได้โดยเสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่องศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยาหลัก
ในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน 
คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
และความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข

 ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ
อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจ
เป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง 
ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ 
เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทาง
คมนาคมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัด เพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่
 เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน 
นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้าหลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทาง
เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา
โปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญ
ทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับชาวต่างชาติเข้ารับราชการ
 แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้าบรรทุก
สำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน 
เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา 
ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตก
ที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับหางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของ
สำเภาอยุธยา ได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทนนอกจากนี้
บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะ
ซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภาจีนกับเรือแกลิออทของ 
ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง

ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหาร
และในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้น
ที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณ
ที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขาย
และเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป
เช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตร
ใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมาทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อม
สำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยา ที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อ
การตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาโดยการ 
ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อน้ำ ลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่ง
ทำกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมาทำนา  
 บ้านเรือนของชาวอยุธยามี ๒  ลักษณะคือ
๑.เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก  เป็นเรือนของชาวบ้านโดยทั่วไปสร้างด้วยไม้ไผ่หรือใบจากซึ่งเป็น
วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถรวบรวมกำลังคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านปลูกเรือนได้ไม่ยาก
๒.เรือนถาวรหรือเรือนเครื่องสับ  เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เช่น ขุนนางหรือเจ้านาย ซึ่งเป็นเรือนที่สร้างอย่าง
ประณีตด้วยไม้เนื้อแข็งหนาแน่นและทนทานไม้เหล่านี้ได้จากป่าในหัวเมืองเหนือที่ใช้วิธีล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
นอกจากเรือนยกพื้นสูงแล้วชาวอยุธยายังอาศัยอยู่ในเรือนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสา พื้นเรือนติดน้ำแต่ลอยได้ 
คือเรือนแพ ที่สะดวกสำหรับการ เคลื่อนย้าย เรือนแพนี้ยังทำหน้าที่เป็นร้านค้าด้วยดังนั้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงมีเรือนแพตั้งเรียงราย
ตามแม่น้ำ ลำคลอง ชาวอยุธยานอกจากจะปรับตนให้เข้ากับภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองแล้วยังใช้ภูมิปัญญาดัดแปลง
แม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกได้ด้วยตัวอย่างเช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า 
จึงมีการเตรียมการโดยขยายขุดลอกคลองคูขื่อหน้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่รับศึกได้หรือการที่มหานาควัดท่าทราย 
ระดมชาวบ้านขุดคลองมหานาคเป็นคูป้องกัน พระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๖ เพื่อป้องกันศึกพม่า   
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สภาพภูมิประเทศที่เป็นมาน้ำลำคลองจำนวนมาก ทำให้ชาวอยุธยามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือในการ 
คมนาคมเรือสำหรับชาวบ้านเป็นเรือที่ต่ออย่างง่ายๆ เช่นเรือขุดและเรือแจว  แต่คนในสมัยอยุธยามีภูมิปัญญาในการขุดเรือยาว 
 ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้เป็นเรือรบในการขนกำลังคนไปได้เป็นจำนวนมาก พระมหากษัตริย์เสด็จพยุหยาตรา
เพื่อเสด็จไปทำสงครามและไดพัฒนาเป็นกองทัพเรือ ในเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติพระมหากษัตริย์ทรงใช้เรือเหล่านี้
เสด็จพระราชดำเนินในพิธีต่างๆ เช่นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยจัดขบวนเรือรบซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อมรบโดยปริยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น