วิชาประวัติศาสตร์ รหัส ส .22102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนาโรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม
http://www.posttoday.com/social/edu

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา

สังคม
สังคมอยุธยา เป็นสังคมเกษตรกรรมที่พึ่งตนเอง มีพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางควบคุมจริยธรรม ของสังคม สังคมสมัยอยุธยาเป็นสังคมที่ประกอบด้วยคนกลุ่มต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. พระมหากษัตริย์ ทรง เป็นประมุขของอาณาจักร ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครอง ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองผู้อยู่ใต้ปกครองทั้งหลายในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
2. เจ้านาย คือเชื้อพระวงศ์หรือพระญาติต่าง ๆ รวมทั้งพระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ มีส่วนร่วมในการช่วยพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักร
3. ขุนนาง หมาย ถึง กลุ่มคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ให้มีหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมือง และควบคุมกำลังไพร่พลตามอำนาจหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย
4. ไพร่ หมาย ถึง ประชาชนทั่วไปในสังคมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องขึ้น สังกัดมูลนาย ตามกรมกองแห่งใดแห่งหนึ่ง หน้าที่ของไพร่ คือ เข้าเวรรับราชการตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนดทุกปี มิฉะนั้นต้องส่งสิ่งของหรือเงินมาทดแทน ไพร่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 ไพร่หลวง คือ ไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์ทรงแจกจ่ายให้ไปรับราชการตามกรมกองต่างๆ
4.2 ไพร่สม คือไพร่ส่วนตัวของเจ้านายและขุนนาง ขึ้นทะเบียนสักหมายหมู่ในสังกัดมูลนายรับใช้มูลนาย
ในยามปกติไพร่ทั้งสองประเภทจะทำหน้าที่ต่างกัน แต่ในยามสงครามต่างก็ถูกเกณฑ์มาทำการรบ ด้วยกันทั้งหมด
5. ทาสหรือข้า เป็น กลุ่มคนระดับล่างสุดของสังคม ถือเป็นสมบัติส่วนตัวของนาย มีหน้าที่หลักคือรับใช้นายเงิน แต่ในยามที่บ้านเมืองเกิดสงครามก็มีโอกาสถูกเกณฑ์ไปรบด้วยเช่นกัน
225px-La_Loubere_Kingdom_of_Siam
เราอาจแบ่งกลุ่มคนในสังคมอยุธยาออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ เจ้านายและขุนนาง ซึ่งเรียกรวมกันว่า “มูลนาย”
2. ชนชั้นผู้ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส
ทั้งสองกลุ่ม นี้มีความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เป็นลักษณะ “ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์”กล่าวคือ มูลนายในฐานะผู้บังคับบัญชาจะให้ความช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ออกระเบียบกฎหมายให้ผู้อยู่ใต้ปกครองปฏิบัติ ส่วนผู้อยู่ใต้ปกครองมีหน้าที่ต้องเคารพเชื่อฟังมูลนาย และทั้งหมดเป็นผู้อยู่ในอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน และมีอำนาจสูงสุดในสังคม
imagesCA7LM9PK

ด้านเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ
พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยาอยู่ที่การเกษตรกรรมและการค้า
bg2549-382ืเ
1. การเกษตรกรรม
อาณาจักร อยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าว รองลงมาได้แก่ พริกไทย ฝ้าย หมาก และไม้ผลต่าง ๆ ลักษณะทางเศรษฐกิจเป็นการเกษตรแบบพอยังชีพ ส่วนที่เหลือจึงจะส่งไปขายต่างประเทศ
pic25160899
bg2549-382ืเดด
2. การค้า
กรุง ศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ เป็นแหล่งรวมสินค้าของป่า เช่น หนังกวาง ไม้ฝาง ครั่ง กำยาน ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดภายนอก ประเทศต้องการเป็นอย่างมาก อยุธยามีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางรวบรวมสินค้าจากดินแดน ภายใน ส่งขายให้กับพ่อค้าต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา ลักษณะการค้าสมัยอยุธยา เป็นการค้าแบบผูกขาด ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนาง มี “พระคลังสินค้า” เป็นหน่วยงานช่วยดูแลเกี่ยวกับการติดต่อกับต่างประเทศด้วย
ดดด    กดดด
ราชสำนัก อยุธยามีรายได้มหาศาลจากการค้าขายกับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไรจากการค้า ภาษีสินค้าขาเข้าและภาษีสินค้าขาออก นอกจากนี้ยังมีรายได้ที่เรียกเก็บจากประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอนทางบกและทางน้ำ ซึ่งเรียกเก็บจากสินค้า โดยเก็บชักส่วนในอัตรา 10 ชัก 1 หรือเรียกเก็บเป็นเงินตามขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้า
2. ส่วย คือสิ่งของหรือเงินตราที่ไพร่ส่วยต้องเก็บส่งราชสำนักตามอัตราที่กำหนด
3. อากร คือภาษีที่ชักส่วนจากผลประโยชน์ที่ประชาชนทำมาหากินได้ เช่น อากรค่านาเรียกว่าหางข้าว หรืออากรค่าสวน อากรค่าน้ำ
4. ฤชา คือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากประชาชนเมื่อประชาชนไปติดต่อราชการ เช่น ค่าออกโฉนดที่ดิน
443c219193fcd12c
 imagesCA7LM9PK

ด้านการเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครอง
การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น 3 สมัย ดังนี้
imagesCAFC1LSNกกกกก
1.สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – 1991) มีลักษณะดังนี้
ในสมัยนี้ เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากฐานการปกครองไว้ ดังนี้
1.1 การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)  พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร
2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก
3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค  เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทน พระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครอง
2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี
ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี
ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี
3) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก
ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง
ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย
4) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ  เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด
imagesCAFC1LSNกกกกกดด
2. การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
ช่วงเวลา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 1991 – 2231) สมัยนี้เป็นสมัยที่อาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเริ่มเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีอำนาจทางการเมืองการปกครองเจริญรุ่งเรืองสูงสุด รวมทั้งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
ในรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์ กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป มีการปฏิรูปการปกครองขึ้นมา
สาเหตุที่ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองอาณาจักรอยุธยา มีดังนี้
1. จากการที่อยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปกว้างขวาง และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนทั้งหมดไว้ได้
2. เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง
3. ทรงต้องการปรับปรุงระเบียบการปกครองที่มีมาแต่เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น
2.1 การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดแบ่งขุนนางและไพร่พลทั่วราชอาณาจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร
ในยามที่บ้าน เมืองสงบสุข หน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจะแยกจากกัน เพื่อรับผิดชอบบริหารบ้านเมืองตามที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อยามเกิดสงคราม ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกำลังกัน เพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันประเทศให้มั่นคงปลอดภัย
ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียง สามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้
ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราช อาณาจักร และคอยกำกับดูแลการทำงานของเหล่าเสนาบดีจตุสดมภ์เดิม ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง 4 ใหม่ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย ดังนี้
กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี
กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก งานราชพิธี และพิพากษาคดีความของราษฎร
กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่ ทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง
2.2 การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถทรงวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปกครองส่วนภูมิภาคให้มีลักษณะแบบเดียวกันกับส่วนกลาง และได้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ โดยแบ่งเขตของการปกครองเป็น 3 เขต ดังนี้
1) หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาถ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชลบุรี เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง
2) หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของแต่ละเมือง ดังต่อไปนี้
– เมืองชั้นเอก เป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนมาก เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช
– เมืองชั้นโท เป็นเมืองที่สำคัญรองลงมา เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร สวรรคโลก
– เมืองชั้นตรี เป็นเมืองที่ขนาดเล็ก เช่น ไชยา ชุมพร นครสวรรค์
3) หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เช่น ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ทวาย ผู้ปกครองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาถวายกษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีข้อกำหนด 3 ปีต่อหนึ่งครั้ง
2.3 การปกครองส่วนท้องถิ่น
สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถทรงแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยเริ่มจากหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบลมีกำนันดูแล แขวงมีหมื่นแขวงดูแล และเมืองมีเจ้าเมืองดูแล
imagesCAFC1LSNกกกกกดดดด
3. การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย (ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้
ช่วงเวลา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชาถึงสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศ (พ.ศ. 2231 – 2310) รูปแบบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงยึดรูปแบบการปกครองตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองบางส่วนในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ดังนี้
1. ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีด้านงานพลเรือน และด้านงานทหาร
2. ให้สมุหพระกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ตั้งแต่เพชรบุรีลงไป
3. ให้สมุหนายกรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและดูแลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง
4. ให้เสนาบดีกรมคลังรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก และดูแลเกี่ยวกับรายได้ของแผ่นดินและการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น